เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero แต่องค์กรไม่ปรับตัว ธุรกิจเดินต่อยากจริงหรือไม่?
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
จากการที่เมื่อปี 1997 (พ.ศ.2540)กลุ่มประเทศผู้นำ มีการร่วมลงนามในข้อตกลงนี้ซึ่งเรียกกันว่า“พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)” ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและต่อสู้กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดให้ประเทศที่เข้าร่วมต้องลดการปล่อยก๊าซเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2°C เทียบเท่าก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมี 190 ประเทศที่เข้าร่วม
และเป็นที่มาของการเกิด “ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)” ซึ่งลงนามในปี 2015 (พ.ศ.2558)โดยมีถึง 197 ประเทศที่เข้าร่วม (รวมทั้งประเทศไทย) โดยประเทศไทยได้ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 20%–25% ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ผ่านการดำเนินการทั้งในส่วนของพลังงานและขนส่ง อุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดการของเสียและตั้งเป้าการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2037 (พ.ศ. 2580) โดยได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไป
สำหรับ องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้โลกลดการปล่อยก๊าซเป็นศูนย์(ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก)โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้เกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2028  (พ.ศ.2571) และให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593)ขณะที่ สหภาพยุโรป (EU) ตั้งเป้าให้ประเทศสมาชิกลดการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050  (พ.ศ.2593) เช่นกัน จึงเป็นที่มาของ Net Zero หรือเป้าหมายที่หลายองค์กรมุ่งเป้าการปล่อยมลพิษหรือคาร์บอนไดออกไซค์สู่สิ่งแวดล้อมเป็น 0% (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดอุณหภูมิโลกลงอย่างน้อย 1-2 องศาเซลเซียส
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ นานาประเทศต้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ นานาประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้เกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2028 และให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050
ในส่วนของประเทศไทยหลายภาคอุตสาหกรรมก็เริ่มมีการตื่นตัว และประกาศเป็นองค์กรที่แสดงต่อความรับผิดชอบกับเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) หรือ ESG และก้าวสู่ Net Zero ในปี 2593 ซึ่งรวมถึงภาคธุรกิจอสังหาฯด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ก็ทยอยประกาศตัวเตรียมก้าวสู่ Net Zero กันอย่างต่อเนื่อง
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
นายชูโชค ศิวะคุณากร
ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยน มิเช่นนั้นเดินหน้าต่อไม่ได้
แต่จากการเปิดเผยของ นายชูโชค ศิวะคุณากร Head of ESG & BSE SCG CGS บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชนหรือ SCG ในงานสัมมนาวิชการปี 2566 (ครั้งที่ 3) ซึ่งจัดโดยสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ภายใต้หัวข้อ “โอกาสทางการตลาดคาร์บอน สำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ทุกวันนี้โลกเกิดวิกฤติด้านความร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินธุรกิจนั้นหากไม่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจก็จะเดินหน้าต่อไม่ได้ หากไม่ให้ความสำคัญหรือไม่แสดงต่อความรับผิดชอบกับเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนEnvironmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) หรือ ESG สถาบันการเงินต่างๆหรือกองทุนต่างๆ ก็จะมีความชัดเจนว่า หากธุรกิจไหนที่ก่อให้เกิดมลภาวะมาก ก็จะไม่เข้าไปลงทุน ซึ่งทุกบริษัทเร่ิมเห็นความชัดเจนขึ้น หากไม่เน้นเรื่อง ESG กลุ่มสถาบันการเงินและกองทุนต่างๆ จะไม่ใช้หรือลดทอนการใช้สินค้าหรือบริการของบริษัทฯนั้นๆ
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

โลกทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งอาจจะต้องตั้งผลกำไรต้องตั้งที่พอเหมาะหรือลดน้อยลง และส่วนที่เหลือมาแบ่งใน 2 มิติ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม และในเรื่องของสังคม โลกยุคใหม่คงต้องอยู่ที่ทิศทางของแต่ละธุรกิจ ที่ต้องแบ่งปันไปใน 2 มิติดังกล่าวให้มากขึ้น ในประเทศไทย ก็มีโอกาสได้ไปพบกับภาครัฐมากขึ้น ซึ่งก็พยายามสร้างความเข้าใจ และเข้ากฎระเบียบดังกล่าว เรื่องนี้คำถามมีเพียงแค่ 2 ข้อเท่านั้นที่ต้องช่วยกัน โดยธุรกิจขนาดกลาง–ขนาดเล็กอยู่ในสภาวะที่เอาชีวิตรอด ที่ทุกธุรกิจต้องแข็งแรง โดยต้องลดโลกร้อน และเป็นสังคมสีเขียวมากขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายของประเทศไทย โดยยุโรปและอเมริกา ได้ดำเนินการมาร่วม 20 ปีแล้ว

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

“แต่ประเทศไทยได้ประกาศว่าจะเป็น NET ZERO หรือการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ในปี 2050 แต่ในด้าน NET ZERO จริงๆ คือ 2065 ในด้านของ SCG ได้วางเป้าว่าปี 2050 จะมุ่งไปที่ NET ZERO เร็วกว่าประเทศประมาณ 15 ปี หากเป็นในเชิงภาคธุรกิจก่อสร้าง ถ้ามองในด้านของ EMBODIED CARBON REDUCTION STRATEGY หากมองในตัวเลขถือว่ามี 4 ส่วน และ 3 ส่วนถือเป็นช่วงที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว และ 1 ในที่ 4 ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งสิ่งที่จะชี้ว่า ตั้งแต่ในด้านการออกแบบจะเห็นว่า ส่วนที่เกี่ยวกับ ORPERATE จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังงานเกือบทั้งหมดเพราะฉะนั้นอาคารไหนที่ออกแบบสามารถเป็น NET ในเชิงพลังงานได้ ซึ่งในระยะยาวก็คือทางรอดได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าเขาจะจ่ายเราเท่าไหร่ อันนี้คือความท้าทาย และก็จะเกิดปรากฏการณ์ว่า อาคารที่ไม่ได้รองรับเรื่อง NET ZERO ก็จะถูกทิ้งงาน ซึ่งคือความสูญเสียอีกประเภทหนึ่ง ถือเป็นมิติวิธีเชื่อและวิธีคิดในการสร้าง–ออกแบบ และสมดุลย์ในส่วนของเรื่องเงินที่จะต้องใส่กับสิ่งที่ลูกค้าจะยอมรับการใช้หรือไม่”

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

ในโลกนี้ ณ วันนี้ กลุ่มส่วนประกอบที่ไม่แพง อายุยืน และรับน้ำหนักได้ดีที่สุด ก็คือ ซีเมนต์คอนกรีต ที่จะหาสิ่งอื่นมาเพิ่มมูลค่าไม่ได้ เพราะฉะนั้นคิดว่าในช่วงระยะเวลาอันใกล้ก็ยังใช้ส่วนประกอบนี้อยู่ แต่จะทำอย่างไรให้ปล่อย CO2 ให้น้อยลง อีกส่วนหนึ่งคือ มีการขีดไว้ว่าในเมื่อภาคของการก่อสร้างปล่อยคาร์บอนมาก ขอไม่สร้างได้หรือไม่ แต่ปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เหมาะสมได้หรือไม่ เทรนด์ในอนาคตที่น่าสนใจคือ บ้านสามารถเป็นได้ทุกอย่างได้หรือไม่ หรืออาคารสำนักงาน อนาคตคงต้องมีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 1 อย่าง เป็นต้น

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

ส่วนเรื่องการรีไซเคิลก็สามารถทำได้ แต่จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว แต่ก็ต้องไปต่อให้ได้ในสเกลที่ต้องเรียนรู้และยังไม่ใหญ่มากนัก ส่วนในภาคของซีเมนต์สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้ตั้งเป้าว่าในปี 2050 จะเป็น Net Zero เช่นกัน ณ วันนี้ปล่อย CO2 มา 30 กว่าล้านตัน

“การที่จะไปสู่ NET ZERO นั้น ครึ่งหนึ่งเกิดจากเรื่องของสินค้า อีกส่วนคือ N2N คือใช้ในเรื่องของดีไซน์ และ BUILDING INFORMATION MODELING(BIM)มาช่วยในงานก่อสร้าง อีกเรื่องคือการปลูกป่า ซึ่ง SCG ไปปลูกมาแล้วหลายแห่ง ปรากฏว่าเข้าเนื้อ 3-4 เท่าตัว ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กมากกว่า ที่มีเป็นแสนบริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้”

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

ในส่วนของ SCG เอง มีแนวทางประกาศนโยบายมาเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อว่า “SCG 4 PLUS” โดยทุกการเดินของธุรกิจ SCG จะใช้ “SCG 4 PLUS” เป็นตัวนำ โดยเน้นในเรื่อง 1. Net Zero  2.Go Green 3.Reduce. Inequality 4.Embrace Collaboration และคาดว่าในปีนี้ในเรื่องปูนลดโลกร้อน จะใช้ได้ 100%

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

ในส่วนของงานก่อสร้างอาคารต่างๆผู้ประกอบการก็จะมีจุดขายใหม่ๆในเรื่องความยั่งยืนนำเสนอลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งนี้อาคารสูงยุคใหม่ที่สร้างขึ้นมาก็เข้าสู่กระบวนการ ซึ่งพบว่าผู้ซื้อหรือผู้เช่าอาคาร ก็จะให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะการร่วมตั้งบริษัทกับ BIM เพื่อนำระบบมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนได้มาก และที่ผ่านมา SCG ก็ได้ร่วมกับบริษัท นันทวัน จำกัด (Thai Obayashi Corporation Limited) ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด ก็หวังจะเข้าสู่ N2N มาใช้ในวงการก่อสร้างให้ได้ต่อไปใน

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero

ใครปรับตัวก่อนอยู่รอดได้ในห่วงโซ่เศรษฐกิจอนาคต

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
นายอุทัย อุทัยแสงสุข
นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือSIRI กล่าวว่า มองว่าโลกทุกวันนี้เป็นระบบการค้าระหว่างประเทศ เพราะ Net Zero เป็นเรื่องระบบที่ใหญ่ระดับโลก ซึ่งนับจากนี้ไปก็จะกลายเป็นกฎ หรือข้อกำหนดที่ทุกองค์กรจะต้องดำเนินการ เพราะมิเช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศต่อไปได้ สุดท้ายแล้วสิ่งเหล่านี้จะมีความเชื่อมโยงกัน เชื่อว่าไม่ทางใดทางหนึ่งทุกองค์กรในประเทศไทย อย่างไรก็ได้รับผลกระทบ โดยในอนาคตทุกบริษัทจะต้องมีในเรื่องของการส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป จะต้องถูกบังคับในการดำเนินธุรกิจไปโดยปริยาย ซึ่งรวมไปถึงซัพพลายเชนด้วยมองว่านับวันจะใกล้ตัวเข้ามาแล้ว เชื่อว่าทุกองค์กรจะถูกถ่ายทอด ถูกกฎระเบียบต่างๆเหล่านี้เข้ามากำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยน มีการหาความรู้ว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไร ซึ่งมองว่าหลายๆเรื่องเป็นเรื่องที่ดี เพราะหากสามารถทำได้ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องของการเพิ่มของต้นทุนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีระยะเวลาในการปรับตัว ซึ่งมีการประเมินตัวเอง ตั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ออกมา โดยแผนระยะยาว ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ยังมาไม่ถึง ก็ต้องรอไปก่อน ซึ่งอีก 5-10 ปีอาจจะมาถึง ก็ค่อยนำเทคโนโลยีเหล่านี้ที่มอนิเตอร์อยู่ตลอดเวลากลับมาใช้ และสามารถก้าวเดินต่อไปได้ ซึ่งผู้ที่ปรับตัวได้ก่อนก็จะอยู่รอดในสังคมหรือในห่วงโซ่เศรษฐกิจในอนาคตได้ดีกว่า

ส่วนความท้าทายในการก้าวสู่ Net Zero มองว่าแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละองค์กรรู้หรือยังว่าตนเองอยู่ตรงไหนในห่วงโซ่ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยสิ่งที่ท้าทายอันดับแรกเลย คือหากไม่รู้เรื่อง ต้องดูก่อนว่าธุรกิจที่ดำเนินการอยู่คืออะไร  ธุรกิจที่ดำเนินการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ โดยคนรุ่นใหม่จะให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่ในอนาคต เชื่อว่าถ้าระดับผู้บริหารที่อยู่ในวัย 40-60 ปี ที่สามารถกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้กับคนรุ่นใหม่ ก็เชื่อว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่เรียนรู้ได้เร็วมาก

ประกาศสู่ Net Zero ในปี’93 ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก

ทั้งนี้ในส่วนของแสนสิริฯเอง ก็มีการประกาศว่ามีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจโดยตรงของบริษัท (ขอบเขตที่ 1 และ 2) ให้ได้ 20% ภายในปี 2025 (พ.ศ.2568) และลดก๊าซเรือนกระจกของทั้งขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ให้อยู่ที่ 50% ในปี 2033 (พ.ศ.2576) โดยมีเป้าหมายสูงสุดสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero ให้ได้ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่

กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับการการใช้นวัตกรรมเพื่อพลังงานสะอาดเป็น 100% ภายในปี 2025 (พ.ศ.2568) ผ่านการขยายแผนการติดตั้ง Solar Roof และ EV Charger ครบ 100% ให้กับบ้านแสนสิริทุกหลังทุกระดับราคา ติดตั้ง Solar Roof ครบ 100% ในคลับเฮาส์ของทุกโครงการใหม่แสนสิริ ติดตั้งระบบสูบน้ำและบำบัดน้ำเสียพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ส่วนกลางของทุกโครงการ เปลี่ยนรถส่วนกลางของบริษัทให้เป็นรถ EV 100% และเปลี่ยนการใช้น้ำมันของเครื่องจักรทุกชนิดมาใช้พลังงานไบโอดีเซล 100%

กลยุทธ์ที่ 2 ออกนโยบายด้านธรรมาภิบาล เพื่อลดคาร์บอนตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น  Cool Living Designed Home นวัตกรรมบ้านเย็นช่วยประหยัดพลังงาน,Zero Waste Design การออกแบบที่ลดการสิ้นเปลืองและลดปริมาณขยะให้มากที่สุด,Universal Design การออกแบบเพื่อทุกคน ทุกวัย,Well Being ด้านคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดของผู้อยู่อาศัย สะอาดปราศจากเชื้อโรคเสริมสร้างที่อยู่อาศัยด้วยนวัตกรรมเพื่อโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ 3 ตั้งงบประมาณ 500 ล้านบาท ในการลงทุนในนวัตกรรมสีเขียว ซึ่งปัจจุบันได้ลงทุนไปแล้ว 3 บริษัท คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 120 ล้านบาท

อึ้ง!ลูกค้าโครงการมีการใช้พลังงานภายในบ้านล่วงหน้าถึง 60 ปี

ทั้งนี้แสนสิริวางแผนที่จะจับมือพันธมิตรกว่า 10 ราย ตั้งทีมวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาบ้านที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ครั้งแรกของอุตสาหกรรมอสังหาฯ ไทยให้ได้ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) โดยมีบริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องชาร์จรถพลังงานไฟฟ้าครบวงจร และบริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด ผู้พัฒนาโซลูชันพลังงานโซลาร์ครบวงจรเป็นหนึ่งในพันธมิตร มีเป้าหมายระยะสั้นและระยะกลางที่จะพัฒนาบ้านประหยัดพลังงาน ภายในปี2023 (พ.ศ.2566) และบ้านที่ลดการปล่อยคาร์บอน 30% ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)  โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยเทรนด์แห่งอนาคตและนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

“ในเรื่อง ESG นั้นแสนสิริได้นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทคิดเป็นสัดส่วน 90% โดยจากการเก็บข้อมูลพบว่า ตัวเลขการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากที่สุด คือบ้านของลูกค้าที่มีการใช้พลังงานภายในบ้านล่วงหน้าถึง 60 ปีข้างหน้า พบว่าแต่ละปีลูกบ้านมีการใช้พลังงานทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 2,788,279 ตันต่อปี และเกี่ยวพันกับการสร้างบ้าน รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆด้วย“

เทรนด์โลกเปลี่ยนเข้าสู่ Net Zero
นายอิสระ บุญยัง

จับตาภาคอสังหาฯถูกกดดันแบงก์ปล่อยสินเชื่อไม่เท่ากัน

นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า แม้ว่ากานดาฯจะไม่ใช่บริษัทฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ในด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม ก็มีการคำนึงถึงกันมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวประเทศในกลุ่มยุโรปจะริ่เริ่มขึ้นมาก่อน สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มประเทศอยู่ในระหว่างการพัฒนา จึงมีโอกาสที่จะปลูกป่า เพื่อเป็นCarbon Credit ได้เช่นกัน ซึ่งบริษัทรายใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมก็ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว

สำหรับในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่าจะต้องมีแรงกดดันในเรื่องของการให้สินเชื่อรายย่อยที่ไม่เท่ากัน เพราะขณะนี้มีกระแสในเรื่องของการนำพลังงานสะอาดมาใช้ เช่น โครงการที่อยู่อาศัยรายไหนที่ใช้พลังงานสะอาดอาจจะได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ถูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงการที่พัฒนา ซึ่งก็จะถูกแรงกดดันเช่นเดียวกัน

โดยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดฯก็จะถูกกฎเกณฑ์บังคับว่า จะต้องดำเนินการปรับปรุงในองค์กรให้ได้ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดก่อน

“อีกทั้งการดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ก็จะต้องเร่ิมต้นจากกระบวนการผลิตของวัสดุก่อสร้างจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ สำหรับผู้บริโภคเองก็สามารถสอบถามบริษัทผู้ประกอบการรายนั้นๆได้ว่าเป็นสินเชื่อสีเขียวหรือไม่”

ผู้ประกอบการอสังหาฯต้องคำนึง 2 ปัจจัย

ด้านความท้าทายในการปรับตัวที่จะก้าวสู่ Net Zero ของผู้ประกอบการอสังหาฯนั้น จะต้องคิดใน 2 ปัจจัยสำคัญ คือ

1.การลงทุน เพื่อนำไปสู่ Net Zero โดยงบลงทุนต้องไม่สูงเกินไป แต่มีความคุ้มค่ากับสินค้าที่จะผลิตออกมาขาย

2.ตลาดมีการตอบรับมากน้อยเพียงใด

สำหรับในส่วนของกานดาฯนั้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทุกโครงการในพื้นที่สาธารณะ ได้มีการติดแผงโซล่าเซลล์  ฝ้ามีฟรอยและสามารถระบายอากาศได้ทุกหลัง ,มีกระจกเขียวตัดแสง และวัสดุไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และกำลังจะเพิ่มเติมในเรื่องของการประหยัดใช้พลังงาน และมีแนวคิดที่จะติดแผงโซล่าเซลล์ในบ้านแนวราบทุกหลัง  แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่จะดำเนินการในราคาที่ลูกค้ารับได้และมีความคุ้มค่ามากที่สุด


อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดต่อโฆษณา

097-126-1282

065-964-0535